fbpx

4 ข้อดีของการเริ่มเรียนหมอ หลังจบปริญญาตรี

ข้อที่ 1: ได้มีเวลาค้นหาตัวเอง ไม่ต้องรีบตัดสินใจ

ตามปกติ การต้องตัดสินใจว่าเราอยากทำงานอะไรก็ไม่ใช่เรื่องง่ายอยู่แล้ว ยิ่งการตัดสินใจเรียนอาชีพที่ใช้ทั้งความรู้ และความเชี่ยวชาญอย่างอาชีพแพทย์ ในช่วงวัย 17-18 จึงถือเป็นโจทย์ที่ยากมากๆสำหรับคนในวัยนั้น

ด้วยเหตุนี้เอง มหาวิทยาลัยหลายๆแห่งในต่างประเทศ จึงให้นักเรียน ได้มีเวลาลองค้นหาตัวเองไปก่อนสัก 2 ปี ก่อนจะเลือก major 

โดยหากนักเรียนมีความสนใจอยากเรียนแพทย์ (ซึ่งเป็นสายงานที่ต้องใช้การพิจารณาอย่างถี่ถ้วน และใช้เวลาในการตัดสินใจค่อนข้างนาน) ทางมหาวิทยาลัยก็จะแนะนำให้ลงเรียนวิชาที่ทดสอบความพร้อมด้านการเรียนหมอก่อน เพื่อให้มั่นใจว่าจะเรียนไหว ตลอดทั้ง 6 ปีของโปรแกรมแพทย์ 

จึงถือเป็นเรื่องที่ดีที่ในตอนนี้คุณเองยังมีโอกาสได้ค้นหาตัวเอง โดยไม่ต้องรีบตัดสินใจในวัยที่อาจจะยังไม่พร้อม

ข้อที่ 2: มีเวลาหาประสบการณ์ในอุตสาหกรรมทางการแพทย์ 

ข้อดีที่สุดอีกอย่างคือ คุณยังสามารถจะไปลองฝึกงาน หรือหาประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์ดูก่อน เพื่อให้แน่ใจว่า คุณอยากจะเป็นหมอจริงๆหรือเปล่า

ยกตัวอย่าง นักเรียนของ EduSmith บางคน กำลังเรียนปริญญาโทด้าน business อยู่แต่มีความสนใจในด้านอาชีพหมอ จึงหาโอกาสไปฝึกงานที่โรงพยาบาล เพื่อให้ได้เห็นการทำงานรักษาคนไข้อย่างใกล้ชิด เพื่อให้รู้ว่า ทีมแพทย์ และพยาบาล ต้องทำงานอะไร มีความกดดันที่ต้องเจออย่างไรบ้าง และนำเอา ข้อดี ข้อเสีย ที่ได้เห็นจริงๆเหล่านั้น มาประกอบการตัดสินใจว่าอยากเป็นหมอรึเปล่า

นี่ถือเป็นข้อได้เปรียบสำคัญสำหรับผู้ที่จบปริญญาตรีมาก่อนหน้านี้ที่สนใจจะเรียนแพทย์ ที่ยังมีเวลาจะได้ไปลองค้นหาตัวเองดูจากการลองฝึกงานดูก่อน

ข้อที่ 3: มีความพร้อมทางด้านจิตใจแล้วในการเป็นหมอ

ความพร้อมในการจะเป็นหมอนั้นมีมากกว่าการเรียนให้ได้เกรดดีๆ อย่างที่ทราบกันว่า อาชีพหมอนั้นต้องทำงานภายใต้ความกดดันสูง ต้องรับมือกับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของคนอยู่ตลอดเวลา เช่น รักษาผู้ป่วยฉุกเฉิน ต้องรับมือกับอารมณ์ของญาติผู้ป่วย รวมถึงต้องเป็นคนตัดสินใจเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความเป็นความตายอยู่ทุกวัน

เพราะฉะนั้นการที่ตอนนี้คุณอยู่ในวัยผู้ใหญ่ และมีประสบการณ์ในการใช้ชีวิต และการทำงานแล้ว ก็จะช่วยทำให้คุณมีความอดทน พร้อมรับสภาวะกดดันต่างๆที่มาพร้อมกับอาชีพหมอได้ดีขึ้นนั่นเอง

ข้อที่ 4: ได้มุมมองที่แตกต่างหลากหลาย พร้อมทำงานในยุค 21st century

ปัจจุบันนี้โลกของเรามีการพัฒนา เกิดการเปลี่ยนแปลงในทุกๆวัน จึงทำให้หมอในยุค 21st century ต้องมีการปรับตัว เรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาด้วยมุมมองใหม่ๆตลอดเวลา แม้กระทั่งโรงเรียนแพทย์เอง ก็มองหาคนที่มีประสบการณ์แตกต่างหลากหลาย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนคนอื่นๆเวลาที่มีการให้แสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน

เนื่องจากอาชีพหมอ ต้องเจอกับผู้คนมากมายหลายอาชีพ หากคุณเป็นคนที่มีความรู้หลากหลาย นอกเหนือจากความรู้ด้านการแพทย์ ก็ย่อมเป็นเป็นประโยชน์ ในการนำมาประยุกต์ใช้ทำงานมากขึ้น

สุดท้ายนี้

สถาบัน EduSmith เข้าใจดีว่าผู้เรียนแต่ละคนมีความต้องการ และเป้าหมายในการศึกษาที่แตกต่างกัน แต่ละคนใช้เวลาในการค้นหาตัวตนมากน้อยแตกต่างกันไป ทีมที่ปรึกษาของเราเข้าใจในธรรมชาติของการเรียนรู้ และเราพร้อมที่จะช่วยคุณวางแผนเพื่อให้ไปถึงจุดหมายที่คุณตั้งไว้

ข่าวดีก็คือ ในตอนนี้ประเทศไทย มีตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่สนใจอยากเรียนแพทย์ หลังจบปริญญาตรีแล้ว ซึ่งก็คือ โปรแกรมแพทย์อินเตอร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือเรียกสั้นๆว่าโปรแกรม “CU-MEDi” 

ซึ่งขั้นตอนการสมัคร CU-MEDi ก็คล้ายกับการสมัครหมอในอเมริกาเลย คือ มีการยื่น คะแนน MCAT, CV และ Essay

โดยเมื่อจบแล้วก็จะได้ปริญญา Doctor of Medicine (M.D.) ไปเลย แต่ใช้เวลาเรียนเพียงแค่ 4 ปี เท่านั้น จากปกติที่ต้องเรียนถึง 6 ปี 

ทางจุฬาฯได้สร้างโปรแกรม CU-MEDi ขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์การทำงานในยุค 21st century รวมถึงการที่โปรแกรมนี้เป็นหลักสูตรนานาชาติ และสอนด้วยภาษาอังกฤษทั้งหมด ผู้เรียนเองจะได้เรียนรวมกับเพื่อนร่วมชั้นจากหลากหลายประเทศ และสาขาอาชีพด้วยกัน

โดยเราจะมาแชร์ข้อมูลรายละเอียดของโปรแกรม CU-MEDi ในโพสต์ต่อๆไป อย่าลืมติดตามกันนะคะ

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับโปรแกรมหมอจุฬาฯอินเตอร์ 4 ปี (CU-MEDi) หรือสนใจวางแผนสมัครโปรแกรมหมอในต่างประเทศ สามารถทักมาคุยกับทีมที่ปรึกษาของ EduSmith เพื่อรับคำปรึกษาฟรี ได้เลย ที่เบอร์ 061-485-5569 หรือ LINE: @EduSmith 

Related Article

หมอจุฬาฯอินเตอร์
cu-medi

การสอบ MCAT เพื่อยื่นสมัครหลักสูตรหมออินเตอร์

สำหรับคนที่สนใจอยากจะเรียนต่อปริญญาโทในอเมริกา น่าจะเคยได้ยินถึงการสอบ GMAT หรือ GRE และสำหรับคนที่อยากต่อด้านกฏหมาย ก็คงคุ้นเคยกับการสอบ LSAT ส่วนวันนี้เราขอมาแนะนำให้รู้จักกับข้อสอบสำหรับวัดระดับความรู้เพื่อเรียนต่อสายแพทย์ ที่มีชื่อว่า การสอบ MCAT ให้ได้รู้จักกัน MCAT คืออะไร The Medical College Admission Test หรือ ที่รู้จักโดยทั่วไปว่า MCAT นั้น เป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในการยื่นสมัครเข้าโปรแกรมแพทย์ รวมถึงโปรแกรมหมอจุฬาฯอินเตอร์

Read More »
หมอจุฬาฯอินเตอร์
cu-medi

CV ของแพทย์ต่างกับ CV ทั่วไปอย่างไร?

CV เป็นส่วนประกอบในใบสมัครที่สำคัญอีกหนึ่งอย่าง ทั้งเพื่อการสมัครเรียน หรือสมัครทำงาน แม้ว่าบางครั้งโรงเรียน หรือหน่วยงานอาจจะขอดูสิ่งที่เรียกว่า resume แต่เป้าหมายก็เหมือนกัน คือ เค้าต้องการจะดูผลงาน หรือ ประสบการณ์ทำงานที่คุณทำมาตลอดหลายปีนั่นเอง และสำหรับคนที่ต้องการยื่นสมัครโปรแกรมหมออินเตอร์จุฬาฯ 4 ปี แน่นอนว่าก็ต้องยื่น CV ด้วยเช่นกัน CV vs Resume CV ย่อมาจาก คำว่า “Curriculum Vitae”

Read More »
หมอจุฬาฯอินเตอร์
chula inter medical school

อยากสมัครหมออินเตอร์จุฬาฯ 4 ปี  (CU-MEDi) ต้องยื่นอะไรบ้าง

EduSmith สรุปมาให้แล้วใน article นี้ เอกสารรับรองด้านการศึกษา  สำหรับผู้สมัครที่กำลังจะจบปริญญาตรี จะต้องยื่นจดหมายรับรองที่ออกโดยมหาวิทยาลัย เพื่อยืนยันว่าคุณกำลังจะเรียนจบปริญญาตรีในปีการศึกษานี้ พร้อมทั้งยื่น transcript ด้วย สำหรับผู้สมัครที่เรียนจบแล้ว สามารถยื่น transcript ปริญญาตรีของคุณได้เลย ผลสอบ English Proficiency (มีอายุ 2 ปี หลังจากวันสอบ) สามารถใช้ผล TOEFL (internet-based) คะแนนขั้นต่ำ

Read More »