1: การหาโรงเรียน
ขั้นตอนแรก คือ school research หรือการหาข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียนต่าง ๆ ซึ่งผู้ปกครองหลายท่านอาจจะโฟกัสที่อันดับหรือชื่อเสียงของโรงเรียนเป็นสิ่งแรก แต่ทีมที่ปรึกษาของ EduSmith ขอแนะนำว่า โรงเรียนที่เหมาะสมกับลูกเรา คือ โรงเรียนที่ดีที่สุด
โดยโรงเรียนที่เหมาะสมนี้ หมายความว่า โรงเรียนจะต้องมีปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมและต่อยอดศักยภาพที่น้องมีอยู่แล้ว โดยปัจจัยต่างๆที่ควรพิจารณามีหลายสิ่งด้วยกัน เช่น สังคม วิชาการ สถานที่ตั้ง และอื่น ๆ
เมื่อมีโรงเรียนในใจแล้ว (หรือมีสองสามที่เพื่อเปรียบเทียบ) สิ่งต่อไปที่คุณพ่อคุณแม่ควรต้องทำคือกรอก “inquiry form” ของแต่ละโรงเรียน เพื่อติดต่อไปที่โรงเรียนและยังเป็นเอกสารที่แสดงให้เห็นว่าเราสนใจในตัวโรงเรียนจริงๆ อย่างไรก็ตาม หากกรอก inquiry form ไปแล้ว สุดท้ายไม่ต้องการสมัครเข้าโรงเรียนนั้นๆ ก็ไม่มีผลบังคับให้ต้องสมัครโรงเรียนนั้นแต่อย่างใด
2: สอบวัดระดับ
คุณพ่อคุณแม่อาจได้ยินมาบ้างว่าหลายโรงเรียนเลือกที่จะใช้มาตรการ test-optional ในส่วนของคะแนน standardized ต่าง ๆ เช่น SSAT หรือ English Proficiency Test (TOEFL/IELTS/Duolingo) การจะส่งคะแนนสอบหรือไม่ขึ้นอยู่กับเราก็จริง แต่ต้องรู้ก่อนว่า optional ไม่ได้หมายความว่าไม่สำคัญ
จริง ๆ แล้วคะแนน standardized test คือด่านแรกของหลายโรงเรียน ถ้าคะแนน SSAT ไม่ถึง หรือคะแนนภาษาอังกฤษยังไม่สูงพอ ก็อาจถูกตัดออกไปในทันที ถึงจะเตรียมโปรไฟล์มาอย่างดีก็ไม่มีประโยชน์ถ้าไม่สามารถผ่านด่านแรกไปได้
ผู้ปกครองอาจมีข้อข้องใจแล้วว่าทำไมคะแนนเหล่านี้ถึงสำคัญ? คำตอบก็คือ ตัวเลขเหล่านี้คือข้อบ่งชี้ว่าลูกของเรามีความสามารถทางด้านวิชาการมากพอที่จะเข้าเรียนในระบบของที่นั่นได้หรือไม่
ในส่วนของคะแนนวัดระดับภาษาอังกฤษ (TOEFL/IELTS/Duolingo) นั้น เป็นข้อบังคับที่นักเรียนชาวต่างชาติจำเป็นต้องส่งทุกคน ยกเว้น หากเรียนในโรงเรียนนานาชาติที่ได้มาตรฐาน มาเกิน 2-4 ปี อาจมีสิทธิ์ waive คะแนนภาษาอังกฤษได้
3: การกรอกใบสมัครหรือ Application
การกรอกใบสมัครจะแตกต่างกันไปตามโรงเรียน โดยส่วนใหญ่จะกรอกผ่านเว็บไซต์ SSAT หรือ Gateway ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ในหน้า “Admissions” ของเว็บไซต์หลักของแต่ละโรงเรียน
ส่วนข้อมูลที่ต้องกรอกในใบ Application นั้น จะมีทั้งเรียงความและข้อมูลทั่วไปของบุตรหลานและครอบครัว
Essays หรือเรียงความ ที่ต้องส่งในใบสมัครจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับแต่ละโรงเรียน บางที่อาจต้องการเรียงความยาว 1 เรื่อง แต่บางที่อาจขอให้เขียนเรียงความสั้นหลาย ๆ ชิ้น แต่หัวใจหลักของเรียงความเหล่านี้ จะเหมือนกันก็คือเพื่อทำความรู้จักนักเรียนที่ต้องการสมัครให้มากยิ่งขึ้น ทางโรงเรียนไม่ได้ต้องการให้โชว์ความสามารถเชิง academic แต่อยากที่จะรู้จักตัวตนของนักเรียนจริง ๆ
เอกสารอื่น ๆ ที่ต้องส่งใน application คือ จดหมายแนะนำ (letters of recommendation) ตัวอย่างงานเขียนที่มีคะแนนจากโรงเรียน (graded writing example) เรียงความของผู้ปกครอง (parent statement) และ ผลการเรียนที่โรงเรียน (transcripts)
4: การสัมภาษณ์
ขึ้นอยู่กับแต่ละโรงเรียน บางที่อาจเป็นข้อบังคับ บางที่อาจเป็น optional คำแนะนำที่ EduSmith ให้กับน้อง ๆ ทุกคนคือควรติดต่อโรงเรียนเพื่อขอนัดสัมภาษณ์เสมอ เพราะหากเราสัมภาษณ์ได้ดี จะสามารถสร้างความประทับใจ และเป็นที่น่าจดจำสำหรับ admissions officers ได้อย่างดี
ส่วนหัวข้อในการสัมภาษณ์นั้น น้อง ๆ จะต้องสามารถเล่าเรื่องราวของตัวเองได้อย่างดีเยี่ยม ตอบให้ได้ว่าทำไมเราถึงอยากเข้าเรียนที่นั่น และมีความสนใจในด้านไหนและจะช่วยพัฒนาสังคมของที่โรงเรียนได้อย่างไร โดยวิธีเตรียมตัวที่ดีที่สุด คือ ฝึกตอบคำถามเกี่ยวกับตัวเองให้ได้ หาให้เจอว่าตัวตนของเราคืออะไร
ทั้งหมดนี้เป็นภาพรวมของสิ่งที่ต้องเจอหากจะสมัครไปเรียนต่อ Boarding Schools ที่สหรัฐอเมริกา สำหรับใครที่สนใจอยากให้ EduSmith ช่วยเหลือในการเตรียมตัวไปเรียน ไม่ว่าจะเป็นการทำ school research หรือการฝึกติวสัมภาษณ์ สามารถติดต่อเรามาได้ที่ Line: @EduSmith เพื่อรับคำปรึกษาได้เลยค่ะ