fbpx

CV ของแพทย์ต่างกับ CV ทั่วไปอย่างไร?

CV เป็นส่วนประกอบในใบสมัครที่สำคัญอีกหนึ่งอย่าง ทั้งเพื่อการสมัครเรียน หรือสมัครทำงาน แม้ว่าบางครั้งโรงเรียน หรือหน่วยงานอาจจะขอดูสิ่งที่เรียกว่า resume แต่เป้าหมายก็เหมือนกัน คือ เค้าต้องการจะดูผลงาน หรือ ประสบการณ์ทำงานที่คุณทำมาตลอดหลายปีนั่นเอง และสำหรับคนที่ต้องการยื่นสมัครโปรแกรมหมออินเตอร์จุฬาฯ 4 ปี แน่นอนว่าก็ต้องยื่น CV ด้วยเช่นกัน

CV vs Resume

CV ย่อมาจาก คำว่า “Curriculum Vitae” มีไว้เพื่อระบุความสำเร็จต่างๆที่ผ่านมา เช่น การศึกษา ความสามารถ ประสบการณ์ทำงาน และอื่นๆ โดยทั่วไปแล้วความยาวของ CV แต่ละคนจะไม่เท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ และกิจกรรมที่เคยทำซึ่งมีมากน้อยต่างกัน

ส่วน Resume คือ การนำเอา CV มาสรุปสั้นๆใส่ขัอมูลการศึกษา ความสามารถ ประสบการณ์ทำงาน แบบย่อ เพื่อให้คนอ่านสามารถสแกนได้เร็วๆก็เข้าใจแล้ว หากจะเปรียบกันแล้ว CV จะเป็นเหมือนการดูหนังทั้งเรื่อง ขณะนี้ Resume เป็นเหมือน Youtube วิดีโอสั้นๆ ที่สรุปเรื่องราวให้ดูจบในเวลาจำกัด

Action Words  

แน่นอนว่าการระบุข้อมูลประสบการณ์ให้ครบถ้วนใน CV เป็นสิ่งที่สำคัญ แต่ที่สำคัญกว่าก็คือพาร์ทของการอธิบายเนื้อหา ควรใช้คำให้ความหมายชัดเจน สื่อตรงตัว โดยควรใช้ action verb ที่เหมาะสมในการเริ่มประโยค  เพื่อสื่อความหมายให้ถูกต้องชัดเจน 

อาทิเช่น 

  • Scheduled and managed the daily appointments for patients entering the clinic
  • Oversaw and digitized the operations management of the department

Edusmith Strategy: เราแนะนำให้คุณเตรียมทั้ง CV และ Resume เผื่อเอาไว้ทั้งคู่ โดยควรอัพเดต CV เป็นประจำทุกครั้งเมื่อมีข้อมูลใหม่ๆเพิ่มเข้ามา เพื่อให้ CV มีข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน และยังสามารถนำมาแปลงเป็น Resume ได้ทันทีที่ต้องการใช้งาน

Medical CVs 

แล้ว Medical CV แตกต่างกับ CV ทั่วๆไปอย่างไร ตอบง่ายๆก็คือ Medical CV จะต้องมีองค์ประกอบตาม CV ทั่วๆไป แต่ต้องเพิ่มเอาหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์เข้ามาเสริม เพื่อให้คุณโดดเด่นในฐานะนักเรียนแพทย์มากขึ้น

โดยหัวข้อดังกล่าว ได้แก่

  • Research Experience 
  • Volunteering Experience 
  • License/Certifications 

Research Experience เป็นส่วนที่แสดงให้เห็นประสบการณ์ในการทำ lab ของคุณ และบอกกับคนอ่านว่าคุณมีความเข้าใจในวิชา foundation ของหมอ วิชาไหนบ้าง

Research experience สามารถเป็นการทำ lab กับอาจารย์ ในตำแหน่ง lab assistance หรือเป็นการฝึกงาน โดยถ้าคุณมีประสบการณ์เหล่านี้ตั้งแต่สมัยปริญญาตรีได้ก็ยิ่งดี

Volunteering Experience เป็นส่วนที่แสดงให้เห็น quality อย่างหนึ่งที่หมอควรจะมี นั่นก็คือ ความเข้าอกเข้าใจต่อผู้อื่น (Empathy) แม้ว่ากิจกรรมอาสานี้ไม่จำเป็นจะต้องเกี่ยวข้องกับการแพทย์โดยตรง แต่หากคุณสามารถหากิจกรรมที่มีความใกล้เคียงกับงานทางการแพทย์ก็จะดีกว่า

โดยอาจจะเริ่มจากการหากิจกรรมอาสาที่เกี่ยวกับการช่วยเหลือคน หรือหากคุณสนใจการแพทย์ด้านไหนเป็นพิเศษ ก็ให้ลองคิดดูว่าคุณจะสามารถช่วยเหลือคนไข้ด้วยการแพทย์ด้านนั้นได้อย่างไรบ้าง และลองคิดสร้างกิจกรรมอาสาขึ้นมาจากไอเดียตรงนั้น

Licenses /Certifications ใส่ข้อมูลวิชาที่เคยเรียน หรือ license ต่างๆที่คุณสอบได้ ที่เห็นว่าเหมาะกับโปรแกรมที่คุณต้องการจะยื่น เช่น หากคุณมีประกาศนียบัตร First Aid Certification โดย  Red Cross ก็ควรใส่มา เพื่อแสดงให้เห็นว่าคุณมีความสนใจ เรียนรู้ด้านกายภาพของมนุษย์ รวมถึงมีความรู้ในการช่วยเหลือคน และเคยปฏิบัตรจริง จากการเรียนทำ CPR ในหลักสูตรนี้เป็นต้น

สุดท้ายนี้ ไม่ว่าคุณจะเป็นนักเรียนหรือคนทำงาน เราแนะนำว่าควรมี CV และ Resume ที่ครบถ้วน เตรียมพร้อมไว้ตลอดเวลา 

โดยวิธีทำง่ายๆก็คือลองเขียนประสบการณ์ทุกๆอย่างที่ได้ทำมาทั้งหมด ใส่ลงไปในกระดาษ ก่อนจะนำมาใส่ในรูปแบบการเขียน CV เพราะถึงแม้บางข้อมูลอาจจะดูไม่สำคัญสำหรับคุณ แต่ก็อาจจะน่าสนใจสำหรับคนอ่านก็ได้

ถ้าอยากเริ่มวางแผนการเขียน CV หรือ Resume สำหรับสมัครเรียนโปรแกรมหมออินเตอร์ หรือโปรแกรมเรียนต่อต่างประเทศอื่นๆ แต่ยังไม่รู้ว่าควรเริ่มอย่างไรสามารถติดต่อเข้ามาเพื่อพูดคุยกับทีม counselors ของ EduSmith ให้เราช่วยรีวิว ผ่านช่องทาง Line: @EduSmithGradMBA หรือที่ เพจ ได้เลย

Related Article

หมอจุฬาฯอินเตอร์
cu-medi

การสอบ MCAT เพื่อยื่นสมัครหลักสูตรหมออินเตอร์

สำหรับคนที่สนใจอยากจะเรียนต่อปริญญาโทในอเมริกา น่าจะเคยได้ยินถึงการสอบ GMAT หรือ GRE และสำหรับคนที่อยากต่อด้านกฏหมาย ก็คงคุ้นเคยกับการสอบ LSAT ส่วนวันนี้เราขอมาแนะนำให้รู้จักกับข้อสอบสำหรับวัดระดับความรู้เพื่อเรียนต่อสายแพทย์ ที่มีชื่อว่า การสอบ MCAT ให้ได้รู้จักกัน MCAT คืออะไร The Medical College Admission Test หรือ ที่รู้จักโดยทั่วไปว่า MCAT นั้น เป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในการยื่นสมัครเข้าโปรแกรมแพทย์ รวมถึงโปรแกรมหมอจุฬาฯอินเตอร์

Read More »
หมอจุฬาฯอินเตอร์
chula inter medical school

อยากสมัครหมออินเตอร์จุฬาฯ 4 ปี  (CU-MEDi) ต้องยื่นอะไรบ้าง

EduSmith สรุปมาให้แล้วใน article นี้ เอกสารรับรองด้านการศึกษา  สำหรับผู้สมัครที่กำลังจะจบปริญญาตรี จะต้องยื่นจดหมายรับรองที่ออกโดยมหาวิทยาลัย เพื่อยืนยันว่าคุณกำลังจะเรียนจบปริญญาตรีในปีการศึกษานี้ พร้อมทั้งยื่น transcript ด้วย สำหรับผู้สมัครที่เรียนจบแล้ว สามารถยื่น transcript ปริญญาตรีของคุณได้เลย ผลสอบ English Proficiency (มีอายุ 2 ปี หลังจากวันสอบ) สามารถใช้ผล TOEFL (internet-based) คะแนนขั้นต่ำ

Read More »
cu-medi
cu inter medical program

4 ข้อดีของการเริ่มเรียนหมอ หลังจบปริญญาตรี

ข้อที่ 1: ได้มีเวลาค้นหาตัวเอง ไม่ต้องรีบตัดสินใจ ตามปกติ การต้องตัดสินใจว่าเราอยากทำงานอะไรก็ไม่ใช่เรื่องง่ายอยู่แล้ว ยิ่งการตัดสินใจเรียนอาชีพที่ใช้ทั้งความรู้ และความเชี่ยวชาญอย่างอาชีพแพทย์ ในช่วงวัย 17-18 จึงถือเป็นโจทย์ที่ยากมากๆสำหรับคนในวัยนั้น ด้วยเหตุนี้เอง มหาวิทยาลัยหลายๆแห่งในต่างประเทศ จึงให้นักเรียน ได้มีเวลาลองค้นหาตัวเองไปก่อนสัก 2 ปี ก่อนจะเลือก major  โดยหากนักเรียนมีความสนใจอยากเรียนแพทย์ (ซึ่งเป็นสายงานที่ต้องใช้การพิจารณาอย่างถี่ถ้วน และใช้เวลาในการตัดสินใจค่อนข้างนาน) ทางมหาวิทยาลัยก็จะแนะนำให้ลงเรียนวิชาที่ทดสอบความพร้อมด้านการเรียนหมอก่อน เพื่อให้มั่นใจว่าจะเรียนไหว ตลอดทั้ง 6

Read More »