fbpx

4 ข้อดีของการเริ่มเรียนหมอ หลังจบปริญญาตรี

ข้อที่ 1: ได้มีเวลาค้นหาตัวเอง ไม่ต้องรีบตัดสินใจ

ตามปกติ การต้องตัดสินใจว่าเราอยากทำงานอะไรก็ไม่ใช่เรื่องง่ายอยู่แล้ว ยิ่งการตัดสินใจเรียนอาชีพที่ใช้ทั้งความรู้ และความเชี่ยวชาญอย่างอาชีพแพทย์ ในช่วงวัย 17-18 จึงถือเป็นโจทย์ที่ยากมากๆสำหรับคนในวัยนั้น

ด้วยเหตุนี้เอง มหาวิทยาลัยหลายๆแห่งในต่างประเทศ จึงให้นักเรียน ได้มีเวลาลองค้นหาตัวเองไปก่อนสัก 2 ปี ก่อนจะเลือก major 

โดยหากนักเรียนมีความสนใจอยากเรียนแพทย์ (ซึ่งเป็นสายงานที่ต้องใช้การพิจารณาอย่างถี่ถ้วน และใช้เวลาในการตัดสินใจค่อนข้างนาน) ทางมหาวิทยาลัยก็จะแนะนำให้ลงเรียนวิชาที่ทดสอบความพร้อมด้านการเรียนหมอก่อน เพื่อให้มั่นใจว่าจะเรียนไหว ตลอดทั้ง 6 ปีของโปรแกรมแพทย์ 

จึงถือเป็นเรื่องที่ดีที่ในตอนนี้คุณเองยังมีโอกาสได้ค้นหาตัวเอง โดยไม่ต้องรีบตัดสินใจในวัยที่อาจจะยังไม่พร้อม

ข้อที่ 2: มีเวลาหาประสบการณ์ในอุตสาหกรรมทางการแพทย์ 

ข้อดีที่สุดอีกอย่างคือ คุณยังสามารถจะไปลองฝึกงาน หรือหาประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์ดูก่อน เพื่อให้แน่ใจว่า คุณอยากจะเป็นหมอจริงๆหรือเปล่า

ยกตัวอย่าง นักเรียนของ EduSmith บางคน กำลังเรียนปริญญาโทด้าน business อยู่แต่มีความสนใจในด้านอาชีพหมอ จึงหาโอกาสไปฝึกงานที่โรงพยาบาล เพื่อให้ได้เห็นการทำงานรักษาคนไข้อย่างใกล้ชิด เพื่อให้รู้ว่า ทีมแพทย์ และพยาบาล ต้องทำงานอะไร มีความกดดันที่ต้องเจออย่างไรบ้าง และนำเอา ข้อดี ข้อเสีย ที่ได้เห็นจริงๆเหล่านั้น มาประกอบการตัดสินใจว่าอยากเป็นหมอรึเปล่า

นี่ถือเป็นข้อได้เปรียบสำคัญสำหรับผู้ที่จบปริญญาตรีมาก่อนหน้านี้ที่สนใจจะเรียนแพทย์ ที่ยังมีเวลาจะได้ไปลองค้นหาตัวเองดูจากการลองฝึกงานดูก่อน

ข้อที่ 3: มีความพร้อมทางด้านจิตใจแล้วในการเป็นหมอ

ความพร้อมในการจะเป็นหมอนั้นมีมากกว่าการเรียนให้ได้เกรดดีๆ อย่างที่ทราบกันว่า อาชีพหมอนั้นต้องทำงานภายใต้ความกดดันสูง ต้องรับมือกับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของคนอยู่ตลอดเวลา เช่น รักษาผู้ป่วยฉุกเฉิน ต้องรับมือกับอารมณ์ของญาติผู้ป่วย รวมถึงต้องเป็นคนตัดสินใจเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความเป็นความตายอยู่ทุกวัน

เพราะฉะนั้นการที่ตอนนี้คุณอยู่ในวัยผู้ใหญ่ และมีประสบการณ์ในการใช้ชีวิต และการทำงานแล้ว ก็จะช่วยทำให้คุณมีความอดทน พร้อมรับสภาวะกดดันต่างๆที่มาพร้อมกับอาชีพหมอได้ดีขึ้นนั่นเอง

ข้อที่ 4: ได้มุมมองที่แตกต่างหลากหลาย พร้อมทำงานในยุค 21st century

ปัจจุบันนี้โลกของเรามีการพัฒนา เกิดการเปลี่ยนแปลงในทุกๆวัน จึงทำให้หมอในยุค 21st century ต้องมีการปรับตัว เรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาด้วยมุมมองใหม่ๆตลอดเวลา แม้กระทั่งโรงเรียนแพทย์เอง ก็มองหาคนที่มีประสบการณ์แตกต่างหลากหลาย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนคนอื่นๆเวลาที่มีการให้แสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน

เนื่องจากอาชีพหมอ ต้องเจอกับผู้คนมากมายหลายอาชีพ หากคุณเป็นคนที่มีความรู้หลากหลาย นอกเหนือจากความรู้ด้านการแพทย์ ก็ย่อมเป็นเป็นประโยชน์ ในการนำมาประยุกต์ใช้ทำงานมากขึ้น

สุดท้ายนี้

สถาบัน EduSmith เข้าใจดีว่าผู้เรียนแต่ละคนมีความต้องการ และเป้าหมายในการศึกษาที่แตกต่างกัน แต่ละคนใช้เวลาในการค้นหาตัวตนมากน้อยแตกต่างกันไป ทีมที่ปรึกษาของเราเข้าใจในธรรมชาติของการเรียนรู้ และเราพร้อมที่จะช่วยคุณวางแผนเพื่อให้ไปถึงจุดหมายที่คุณตั้งไว้

ข่าวดีก็คือ ในตอนนี้ประเทศไทย มีตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่สนใจอยากเรียนแพทย์ หลังจบปริญญาตรีแล้ว ซึ่งก็คือ โปรแกรมแพทย์อินเตอร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือเรียกสั้นๆว่าโปรแกรม “CU-MEDi” 

ซึ่งขั้นตอนการสมัคร CU-MEDi ก็คล้ายกับการสมัครหมอในอเมริกาเลย คือ มีการยื่น คะแนน MCAT, CV และ Essay

โดยเมื่อจบแล้วก็จะได้ปริญญา Doctor of Medicine (M.D.) ไปเลย แต่ใช้เวลาเรียนเพียงแค่ 4 ปี เท่านั้น จากปกติที่ต้องเรียนถึง 6 ปี 

ทางจุฬาฯได้สร้างโปรแกรม CU-MEDi ขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์การทำงานในยุค 21st century รวมถึงการที่โปรแกรมนี้เป็นหลักสูตรนานาชาติ และสอนด้วยภาษาอังกฤษทั้งหมด ผู้เรียนเองจะได้เรียนรวมกับเพื่อนร่วมชั้นจากหลากหลายประเทศ และสาขาอาชีพด้วยกัน

โดยเราจะมาแชร์ข้อมูลรายละเอียดของโปรแกรม CU-MEDi ในโพสต์ต่อๆไป อย่าลืมติดตามกันนะคะ

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับโปรแกรมหมอจุฬาฯอินเตอร์ 4 ปี (CU-MEDi) หรือสนใจวางแผนสมัครโปรแกรมหมอในต่างประเทศ สามารถทักมาคุยกับทีมที่ปรึกษาของ EduSmith เพื่อรับคำปรึกษาฟรี ได้เลย ที่เบอร์ 061-485-5569 หรือ LINE: @EduSmith 

บทความที่เกี่ยวข้อง

cu-medi
cu-medi

MCAT and Medical School Admissions

If you are considering going into some sort of post-graduate program, you would have probably heard of the GMAT. For those considering law school, then you will be studying for that LSAT score for that 175 like Elle Woods. Medical Schools also have their own equivalent to a standardized test, called the MCAT.  What is the MCAT?  The Medical College Admission Test, more commonly known as

อ่านเพิ่มเติม »
cu-medi
cu-medi

Medical CVs, What You Need to Know: 

Whether you are a student who is currently looking to apply to medical school or a student looking for an internship, there is a common denominator that comes into play: The dreaded CV. Of course, sometimes you might be asked to send in a resume as well but either way, schools (and companies) will most likely ask you for a document that showcases what you have been doing in the past few years. And

อ่านเพิ่มเติม »
หมอจุฬาฯอินเตอร์
chula inter medical school

CU-MEDi Admissions Requirement: Summarized 

So you are someone who is looking to apply for Chulalongkorn’s University’s brand new CU-MEDi postgraduate medicine program, but not sure where to start? Read on to find out about the admissions requirements! Academic qualification documents.  For applicants studying in their final year of university, you must upload a letter issued by your school confirming that you are expected to complete

อ่านเพิ่มเติม »
cu-medi
cu-medi

Benefits of Med School after B.A

Reason 1: You have time to find yourself. With the ever-changing world, it is hard to know what we want to be exactly. A medical career is a serious commitment to take on, and making that decision at 17 years old can be an extremely stressful process. Certain countries and universities recognize this and therefore won’t force their students to make a decision until they have had at least 2 years t

อ่านเพิ่มเติม »
หมอจุฬาฯอินเตอร์
cu-medi

การสอบ MCAT เพื่อยื่นสมัครหลักสูตรหมออินเตอร์

สำหรับคนที่สนใจอยากจะเรียนต่อปริญญาโทในอเมริกา น่าจะเคยได้ยินถึงการสอบ GMAT หรือ GRE และสำหรับคนที่อยากต่อด้านกฏหมาย ก็คงคุ้นเคยกับการสอบ LSAT ส่วนวันนี้เราขอมาแนะนำให้รู้จักกับข้อสอบสำหรับวัดระดับความรู้เพื่อเรียนต่อสายแพทย์ ที่มีชื่อว่า การสอบ MCAT ให้ได้รู้จักกัน MCAT คืออะไร The Medical College Admission Test หรือ ที่รู้จักโดยทั่วไปว่า MCAT นั้น เป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในการยื่นสมัค

อ่านเพิ่มเติม »
หมอจุฬาฯอินเตอร์
cu-medi

CV ของแพทย์ต่างกับ CV ทั่วไปอย่างไร?

CV เป็นส่วนประกอบในใบสมัครที่สำคัญอีกหนึ่งอย่าง ทั้งเพื่อการสมัครเรียน หรือสมัครทำงาน แม้ว่าบางครั้งโรงเรียน หรือหน่วยงานอาจจะขอดูสิ่งที่เรียกว่า resume แต่เป้าหมายก็เหมือนกัน คือ เค้าต้องการจะดูผลงาน หรือ ประสบการณ์ทำงานที่คุณทำมาตลอดหลายปีนั่นเอง และสำหรับคนที่ต้องการยื่นสมัครโปรแกรมหมออินเตอร์จุฬาฯ 4 ปี แน่นอนว่าก็ต้องยื่น CV ด้วยเช่นกัน CV vs Resume CV ย่อมาจาก คำว่า “Curriculum Vitae” มีไว้เพ

อ่านเพิ่มเติม »