fbpx

เจาะลึกวิธีการจัดอันดับมหาวิทยาลัย

อันดับมหาวิทยาลัย (University rankings) มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของนักเรียน ผู้สอน และหน่วยงานการศึกษาต่างๆเป็นอย่างมาก การจัดอันดับมหาวิทยาลัย มักจัดทำโดยองค์กรและสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ และยังเป็นเกณฑ์มาตรฐานในการประเมินคุณภาพและชื่อเสียงของสถาบันทั่วโลก การที่จะเข้าใจวิธีการจัดอันดับมหาวิทยาลัย เราจำเป็นต้องศึกษาปัจจัยที่นำมาใช้ในการจัดอันดับ เกณฑ์การให้คะแนน รวมถึงข้อจำกัดต่างๆที่นำมาพิจารณา

โครงสร้างการจัดอันดับมหาวิทยาลัย

  1. การเก็บข้อมูลและแหล่งที่มา

องค์กรที่ทำการจัดอันดับมหาวิทยาลัยมีการจัดเก็บข้อมูลจากแหล่งที่มาที่หลากหลาย ทั้งข้อมูลจากตัวมหาวิทยาลัยเอง ข้อมูลจากหน่วยงานของรัฐ แบบสอบถาม และผลงานวิชาการ โดยข้อมูลเหล่านี้ ครอบคลุมตัวชี้วัดต่างๆมากมาย ตั้งแต่ผลการเรียนทางวิชาการและผลงานวิจัย ไปจนถึงคุณวุฒิของอาจารย์และข้อมูลพื้นฐานของนักเรียน

  1. เกณฑ์การให้คะแนน

ปัจจัยที่ส่งผลต่อเกณฑ์การประเมินจะมีค่าที่แตกต่างกันไป โดยขึ้นอยู่กับความสำคัญของปัจจัยนั้นๆ ซึ่งตัวชี้วัดที่ใช้ประเมินกันทั่วไป ได้แก่ ชื่อเสียงทางวิชาการของมหาวิทยาลัย ผลงานวิจัย อัตราส่วนของอาจารย์ต่อนักศึกษา จำนวนครั้งที่งานวิจัยของอาจารย์ถูกอ้างอิง มุมมองจากนานาชาติที่มีต่อมหาวิทยาลัย ชื่อเสียงของบริษัทที่รับนักศึกษามหาวิทยาลัยนี้ไปทำงาน และความสำเร็จของศิษย์เก่า ซึ่งตัวชี้วัดเหล่านี้อาจส่งผลกระทบอย่างมากต่ออันดับของมหาวิทยาลัย

  1. การปรับมาตรฐานข้อมูลเพื่อความเท่าเทียม

เพื่อให้การเปรียบเทียบมหาวิทยาลัยแต่ละที่มีความยุติธรรมมากขึ้น ข้อมูลที่ได้รับมาเพื่อการจัดอันดับจะถูกปรับให้เป็นมาตรฐานเพื่อลดความแตกต่างที่อาจเกิดขึ้นจากขนาดของมหาวิทยาลัย ความแตกต่างด้านวิชาการ และความแตกต่างระหว่างภูมิภาค ซิ่งจะช่วยให้การประเมินมีความเท่าเทียมกันมากขึ้น

  1. การคำนวณคะแนน

หลังจากทำการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่มี นำมาถ่วงน้ำหนัก และกำหนดมาตรฐานการให้คะแนนแล้ว มหาวิทยาลัยจะได้รับคะแนนโดยพิจารณาจากผลการดำเนินงาน จากปัจจัยต่างๆที่ถูกใช้เป็นเกณฑ์การประเมิน คะแนนเหล่านี้จะกำหนดอันดับของแต่ละสถาบัน โดยมหาวิทยาลัยที่ยิ่งได้คะแนนสูง ก็จะยิ่งมีอันดับที่สูงขึ้นไปเรื่อยๆ

หลักเกณฑ์สำคัญในการจัดอันดับมหาวิทยาลัย

  1. ความเป็นเลิศทางวิชาการ

เป็นเกณฑ์ที่มีบทบาทสำคัญในการจัดอันดับมหาวิทยาลัย เช่น คุณวุฒิของอาจารย์ อัตราส่วนของอาจารย์ต่อนักศึกษา อัตราการจบการศึกษา และชื่อเสียงทางวิชาการ แน่นอนว่าวิชาการที่ดีและชื่อเสียงที่โดดเด่น เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยส่งผลดีต่ออันดับของมหาวิทยาลัย 

  1. ผลงานวิจัยและการสร้างอิทธิพลในวงกว้าง

ประกอบไปด้วยปริมาณและคุณภาพของงานวิจัยที่ตีพิมพ์ จำนวนครั้งที่งานวิจัยถูกอ้างอิง และเงินทุนสนับสนุนการวิจัย สิ่งเหล่านี้ต่างก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ใช้ตัดสินอันดับมหาวิทยาลัย โดยเราจะเห็นได้ว่ามหาวิทยาลัยที่มีโครงการวิจัยที่แข็งแกร่งและผลงานวิชาการที่สร้างการอิทธิพลในวงกว้างมักจะได้อันดับที่ดีในการจัดอันดับ

  1. ชื่อเสียงระดับโลก

ภาพลักษณ์ที่ดีและชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยในสายตาของนักวิชาการ นายจ้าง และผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมต่างๆ ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการจัดอันดับ โดยการสำรวจความคิดเห็นและตัวชี้วัดเกี่ยวกับชื่อเสียงนั้นจะช่วยให้เราเข้าใจภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยภายในวงการการศึกษาระดับโลกได้มากขึ้น

  1. ความเป็นสากลและความหลากหลาย

มหาวิทยาลัยที่ให้ความสำคัญกับความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม เช่น รับนักเรียนหลากเชื้อชาติ มีอาจารย์ผู้สอนที่มีความหลากหลาย ให้ความร่วมมือด้านวิจัยกับสถาบันต่างประเทศ มักจะได้รับอันดับที่สูงกว่า การที่มหาวิทยาลัยมีความเป็นสากล เช่น การจับมือกับสถาบันการศึกษาระดับโลก มีโปรแกรมแลกเปลี่ยนนักศึกษา สามารถช่วยยกระดับชื่อเสียงและความสามารถในการแข่งขันของมหาวิทยาลัย

สิ่งที่น่าคิด

แม้ว่าอันดับมหาวิทยาลัยจะเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ แต่ก็ใช่ว่าจะสมบูรณ์แบบโดยไม่มีที่ติ 

 

  • ความลำเอียงและอคติ: การให้คะแนนความสำคัญตามความคิดของผู้ให้คะแนนและการอ้างอิงจากผลสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับชื่อเสียงอาจทำให้เกิดความลำเอียงในการจัดอันดับ

  • ข้อมูลที่จำกัด: การจัดอันดับมหาวิทยาลัยนั้นจำเป็นจะต้องอาศัยข้อมูลที่มีอยู่ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้อาจจะไม่ครบถ้วน ล้าสมัย หรือถูกเปลี่ยนแปลงได้

  • ปัจจัยที่จำกัด: การจัดอันดับมหาวิทยาลัยอาจจะให้ความสำคัญกับปัจจัยบางอย่าง เช่น ผลงานวิจัยและชื่อเสียง โดยอาจมองข้ามคุณภาพด้านอื่นๆ อย่างคุณภาพการสอน การสนับสนุนนักศึกษา และการมีส่วนร่วมกับชุมชน

  • ผลกระทบต่อระบบการศึกษาระดับสูง: การที่มหาวิทยาลัยเน้นเรื่องอันดับมากเกินไป อาจทำให้มหาวิทยาลัยมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มคะแนนเพื่อยกระดับอันดับของตัวเอง แต่ในทางกลับกัน อาจส่งผลเสียต่อเป้าหมายด้านการศึกษาโดยรวมได้

ข้อสรุป

แม้ว่าอันดับมหาวิทยาลัยจะเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์สำหรับการประเมินและเปรียบเทียบสถาบันอุดมศึกษา แต่ก็ไม่ควรยึดติดกับอันดับเหล่านี้มากจนเกินไป และควรใช้ความคิดวิเคราะห์อย่างรอบคอบในการเลือกมหาวิทยาลัยที่จะเรียนต่อ การเข้าใจวิธีการจัดอันดับมหาวิทยาลัย รวมถึงเกณฑ์การประเมิน ระบบการให้คะแนน และแหล่งที่มาของข้อมูล เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เข้าใจความหมายของอันดับเหล่านี้ได้อย่างถูกต้อง แม้ว่าอันดับมหาวิทยาลัยจะช่วยให้เราเห็นภาพรวมของความเป็นเลิศทางวิชาการและชื่อเสียงของสถาบัน แต่ก็ถือว่าเป็นเพียงแค่ปัจจัยหนึ่งเท่านั้นที่ควรนำมาพิจารณาเมื่อตัดสินใจเลือกเรียนต่อ ท้ายที่สุดแล้ว การเลือกมหาวิทยาลัยควรขึ้นอยู่กับความต้องการ เป้าหมาย และความฝันของตัวเราเอง โดยไม่จำเป็นต้องยึดติดกับอันดับมากจนเกินไป

อยากทำความเข้าใจมหาวิทยาลัยใน ranking ต่างๆให้มากขึ้น สามารถทักมาปรึกษากับ EduSmith ได้ฟรี คลิกเพิ่มเพื่อนได้เลย

ที่มา

https://www.timeshighereducation.com/student/advice/world-university-rankings-explained

https://www.usnews.com/education/best-colleges/articles/how-us-news-calculated-the-rankings

เพิ่มเพื่อน

บทความที่เกี่ยวข้อง

college admission

ไขข้อเข้าใจผิดกับการไปเรียนต่อต่างประเทศ

การไปเรียนต่อต่างประเทศถือเป็นความฝันของใครๆหลายคน แต่ก็มักจะมีความเข้าใจว่าเป็นเรื่องที่ยาก โดยเฉพาะนักเรียนที่ยังไม่เคยออกนอกประเทศมาก่อน แม้ว่าการไปเรียนต่อที่ต่างประเทศจะมีข้อดีต่างๆมากมาย หลายๆคนก็ยังคงมีความกังวลในเรื่องค่าใช้จ่าย อุปสรรคทางภาษา และความปลอดภัย ซึ่งอาจทำให้บางคนลังเลกับการไปเรียนต่อ อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะยอมแพ้ให้กับความคิดเหล่านี้ EduSmith จะมาช่วยไขความเข้าใจผิดในเรื่องการไ

อ่านเพิ่มเติม »
studyinusa

Selecting Undergraduate Majors for American Universities

Ravi Aldis is our Senior Counselor at EduSmith. He graduated from Reed College and has helped students into leading US universities. In this article, he will be sharing insights on what students should consider when deciding on what path to pursue in university. Choosing a major is one of the most important decisions that college applicants must make. Not only can it determine your future career p

อ่านเพิ่มเติม »
college admission

2021 SAT Changes And What They Mean For Students

On Tuesday, College Board announced major changes to its product offerings, including an end to SAT Subject Tests and an end to the SAT’s optional essay. Below are answers to some of the most common questions we have been receiving from parents and students. Exactly what changes are being made? The immediate changes relate to SAT Subject Tests and to the SAT’s optional essay component. College Boa

อ่านเพิ่มเติม »
undergraduate

Things we learned from 2020.

Congrats everyone! You have successfully made it through 2020!  We have seen how COVID-19 has disrupted the university admissions plans for the high school class of 2021. From standardized test cancellations to unpredictable admission policies that change every month, students need to think and plan their road to college admission early and carefully. Here are key survival tips from our senio

อ่านเพิ่มเติม »
SAT

SAT: WAS YESTERDAY’S TEST THE SAME AS THE DECEMBER 2018 US TEST?

While it is difficult to be sure that the two tests were completely identical, the test given yesterday in Thailand was at least very, very similar to the one given in the US in December 2018. IS THIS KIND OF REUSE UNUSUAL? Yes and No. It is not at all unusual for students in Asia to be given reused tests. In fact, ALL tests given in Asia are repeats of tests previously administered in the US. Col

อ่านเพิ่มเติม »
college admission

SAT: To take or not to take

All eight Ivy League schools and many other top 20 U.S. universities have already announced that they will be “Test Optional” for this 2020-2021 Admissions cycle. What does that mean for the rising senior students applying to universities this year? And the biggest question hanging on every student’s mind…Do I still need to take the SAT? The simplest answer, perhaps to the dismay of many stu

อ่านเพิ่มเติม »