fbpx

ไขข้อข้องใจ การเข้ามหาวิทยาลัยในอเมริกายังต้องใช้คะแนน SAT/ACT อยู่หรือไม่?

Read the English Version

มหาวิทยาลัยในอเมริกา ยังบังคับให้ยื่นคะแนน SAT กับ ACT หรือไม่ มีนโยบายอะไรเกี่ยวการยื่น standardized test อีกบ้าง ที่ต้องรู้

เราได้สรุปออกมาได้ว่า มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ในอเมริกา มีนโยบาย 3 รูปแบบด้วยกัน

  1. Test Required บังคับยื่นคะแนน – มหาวิทยาลัยส่วนน้อยจำนวนหนึ่ง ยังคงบังคับให้ผู้สมัครต้องยื่นคะแนน SAT หรือ ACT เหมือนกับช่วงสถานการณ์ปกติ ก่อนภาวะโควิด มหาวิทยาลัยในกลุ่มนี้ ได้แก่ MIT,  Georgia Tech, และ Georgetown University
  2. Test Blind ไม่ดูคะแนน – มหาวิทยาลัยบางแห่ง ใช้นโยบาย “test blind” หมายถึง ไม่พิจารณาคะแนน SAT หรือ ACT เลย แม้ว่าผู้สมัครจะส่งคะแนนมาหรือไม่ก็ตาม มหาวิทยาลัยในกลุ่มนี้ ได้แก่ Caltech, มหาวิทยาลัยทั้งหมดในเครือ University of California และบางคณะของ Cornell University
  3. Test Optional ไม่บังคับยื่น – มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ใช้นโยบายนี้ คือ ไม่ได้บังคับให้ยื่น SAT หรือ ACT แต่คะแนนจะถูกพิจารณาและใช้เป็นเกณฑ์การรับสมัคร หากผู้สมัครส่งคะแนนเหล่านี้มา มหาวิทยาลัยในกลุ่มนี้ ได้แก่ Stanford, the University of Chicago และมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ในเครือไอวี่ (Ivy League)

ทำไมมหาวิทยาลัยในเครือแคลิฟอร์เนีย (University of California) จึงใช้นโยบาย test blind?

มหาวิทยาลัยในเครือแคลิฟอร์เนีย หรือที่คนไทยเรารู้จักกันในนามมหาวิทยาลัยเครือ “UC” ได้เริ่มใช้นโยบายการสมัครแบบ test blind มาตั้งแต่ปีที่แล้ว เพื่อแก้ปัญหา จากการที่มหาวิทยาลัยโดนฟ้องร้องว่า การใช้คะแนน standardized test ได้ทำให้เด็กจำนวนหนึ่งเสียเปรียบ ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของเชื้อชาติ ความพิการ และสถานภาพที่จำกัดด้านอื่นๆ

ซึ่งการฟ้องร้องนี้เป็นส่วนหนึ่งของการต่อสู้ อันยาวนานนับ 10 ปี เกี่ยวกับประเด็นการเอนเอียงเรื่องเชื้อชาติในการรับสมัครนักเรียนเข้ามหาวิทยาลัยในเครือแคลิฟอร์เนีย ตั้งแต่สมัยที่มีการร่างข้อเสนอ Proposition 209 ในปี 1996 ที่เรียกร้องให้สถาบันของรัฐ ไม่นำเอาเชื้อชาติ หรือสีผิว มาเป็นข้อพิจารณา ให้เกิดข้อได้เปรียบทางเชื้อชาติ 

จึงแปลว่าการตัดสินใจใช้นโยบาย test blind ของเครือ UC ไม่ได้มีสาเหตุหลักมาจากสถานการณ์โรคระบาดแต่อย่างใด

ทำไมโรงเรียนส่วนใหญ่จึงยังใช้นโยบาย test-optional? นโยบายนี้เกิดขึ้นเพื่อใช้แก้ปัญหาสถานการณ์โควิดโดยเฉพาะหรือเปล่า?

การระบาดของโควิดในช่วงปี 2020 บังคับให้มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จำต้องใช้นโยบาย test-optional แต่จริงๆแล้ว หลายมหาวิทยาลัยได้มีการใช้นโยบายนี้มาแล้ว ตั้งแต่ก่อนเกิดการระบาด ตัวอย่างเช่น University of Chicago เริ่มใช้นโยบายนี้ตั้งแต่ปี 2018 รวมถึง Bowdoin College สถาบัน Liberal Arts ชั้นนำของอเมริกา ที่ใช้นโยบายนี้มาตั้งแต่ปี 1969 

แล้วมีเหตุผลอะไรที่มหาวิทยาลัย จึงเลือกที่จะนำนโยบาย test-optional มาใช้? 

ต้องบอกเลยว่า การใช้ test-optional นั้น มีประโยชน์หลายๆอย่างกับมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะการยกระดับภาพลักษณ์ของสถาบัน

  1. อัตราการรับผู้สมัครน้อยลง เมื่อยกเลิกคะแนนสอบซึ่งเป็น ตัวแปรสำคัญในใบสมัคร จำนวนคนยื่นสมัคร จึงเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้สัดส่วนอัตราการรับมีจำนวนลดลงโดยอัติโนมัติ และอัตราการรับนักเรียนเข้าที่น้อย ก็เป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ทำให้มหาวิทยาลัยดูมีความ พิเศษ มากกว่าที่อื่นๆ ความสำคัญของเปอร์เซ็นต์ถูกใช้เป็นมาตรวัดในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่ทาง US News ใช้มาอย่างยาวนาน จนถึงเมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง 
  1. ทำให้คะแนนเฉลี่ย SAT และ ACT เพื่อเข้าเรียนสูงขึ้น จริงอยู่ว่านโยบาย test-optional นี้เปิดโอกาสให้นักเรียนที่สอบได้คะแนนไม่สูง สามารถเลือกที่จะยื่นสมัครโดยไม่ต้องใช้คะแนนสอบได้ แต่นั่นส่งผลให้ค่าเฉลี่ยของคะแนนสอบ SAT และ ACT เพื่อถูกรับเข้าเรียนนั้นสูงขึ้น โดยตัวเลขนี้เป็นอีกปัจจัยในการสร้างความ เข้ายาก หรือความพิเศษ ให้กับโรงเรียน และเป็นอีกปัจจัยในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของ US News 
  1. เชื้อชาติของผู้สมัครมีความหลากหลายมากขึ้น นโยบาย test-optional ช่วยทำให้โรงเรียนได้ผู้สมัครที่ในกลุ่มที่เรียกว่า “underrepresented minorities” ที่มักจะได้คะแนนสอบไม่สูง มาสมัครเรียนมากขึ้น โดยที่มหาวิทยาลัยเองไม่จำเป็นต้องไปลดค่าเฉลี่ยคะแนน SAT และ ACT ใดๆเลย (ดังที่อธิบายไว้ในข้อ 2) แต่นักเรียนที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มนี้ไม่ใช่นักเรียนเชื้อชาติเอเชีย และนักเรียนเอเชียที่เกิดที่อเมริกา

แล้ว Test-blind กับ test-optional ต่างกันอย่างไร? ไม่ใช่สิ่งเดียวกันหรอ?

ความจริงแล้ว นโยบาย Test-blind กับ test-optional นั้น ต่างกันอย่างมาก

โรงเรียนที่ใช้ test-blind จะไม่พิจารณาคะแนน SAT และ ACT เลย 

ยกตัวอย่างเช่น กรณีของ UCLA หากนักเรียนคนหนึ่งส่งคะแนน SAT มา คะแนนเหล่านั้นจะไม่มาปรากฏอยู่ในไฟล์ application ของเด็กคนนั้นเลย หมายความว่า กรรมการรับสมัครก็จะไม่เห็นคะแนนนั้นด้วย (นี่เป็นที่มาของชื่อ test-blind เพราะคะแนนจะไม่ถูกเห็น)

ข้อมูลจากหน้า admissions ของ UCLA:

UCLA จะไม่พิจารณา คะแนน SAT หรือ ACT ในการยื่นสมัครเข้ามหาวิทยาลัย หรือ เพื่อยื่นขอทุนการศึกษาใดๆ

https://admission.ucla.edu/apply/freshman/freshman-requirements

ในด้านตรงกันข้าม โรงเรียนที่ใช้ test-optional จะพิจารณา ดูคะแนน SAT หรือ ACT หากนักเรียนส่งคะแนนเหล่านั้นมา ร่วมกับส่วนประกอบอื่นๆ เช่น ผลการเรียน recommendation letters  essays การทำกิจกรรมนอกห้องเรียน และอื่นๆ 

มหาวิทยาลัย Harvard อธิบาย การใช้นโยบาย test-optional ของสถาบันไว้ว่า

หากผู้สมัครมีการขอให้พิจารณาคะแนนที่ยื่นมา ไม่ว่าจะเป็นในขณะที่ยื่นใบสมัคร หรือหลังจากได้ยื่นไปแล้ว และมีการยื่นฟอร์มมาใน Applicant Portal คะแนนเหล่านั้นจะถูกนำมาพิจารณาตลอดกระบวนการการยื่นสมัคร

https://college.harvard.edu/admissions/apply/application-requirements

แต่การที่มหาวิทยาลัยหันมาใช้นโยบาย “test optional” ก็แปลว่าไม่ได้ให้ความสำคัญกับคะแนน SAT และ ACT แล้ว ไม่ใช่หรือ?

ต้องทำความเข้าใจใหม่ว่า “optional” ไม่ได้แปลว่า “ไม่สำคัญ” โดยเฉพาะเมื่อพูดถึงการยื่นสมัครมหาวิทยาลัยที่มีการแข่งขันสูง

แท้จริงแล้ว ส่วนประกอบที่สำคัญส่วนใหญ่ใน application ที่ทำให้ผู้สมัครโดดเด่นออกมาจากคู่แข่งคนอื่นๆ คือ ส่วนประกอบ “optional” นี่แหละ 

ส่วนประกอบเหล่านี้ คือสิ่งที่มหาวิทยาลัยระบุว่าเป็นส่วน “optional” 

  • การเรียน IB 
  • การเรียนวิชา A Level 
  • การเรียนวิชา AP
  • การร่วมกิจกรรมกีฬา ทั้งในและนอกโรงเรียน
  • การเข้าชมรมต่างๆในโรงเรียน
  • การร่วมการแข่งขันทางวิชาการ
  • การฝึกงาน 
  • การทำงานช่วยเหลือสังคม  หรือชุมชน
  • การเล่นดนตรี
  • การร่วมพัฒนา จัดการด้านธุรกิจ
  • การมีประสบการณ์ด้านการเป็นผู้นำ
  • การทำ “passion project” ต่างๆ
  • การได้รับรางวัลด้านต่างๆ
  • การเขียน applications essays หรือ การสอบสัมภาษณ์ บางอย่าง ก็เลือกที่จะไม่ทำก็ได้

จะเห็นได้ชัดว่า มหาวิทยาลัยต่างๆยังคงเห็นความสำคัญของคะแนน standardized test 

ดูได้จาก รายงานสถิติด้านการสอบเข้า หรือ Common Data Set จาก Stanford ที่ยังคงจัดให้คะแนน standardized test  เป็น “ค่าที่สำคัญมาก” เช่นเดียวกับส่วนประกอบสำคัญอื่นๆ เช่น คะแนน GPA และ Application Essay

เว็ปไซต์ Harvard Admissions ได้ระบุว่า

คะแนน standardized tests เป็นชี้วัดโดยรวมที่ดี เพื่อดูว่าผู้สมัครได้เรียนอะไรมาบ้าง และจะสามารถเรียนในระดับมหาวิทยาลัยได้ดีหรือเปล่า

คะแนนสอบ SAT และ ACT ทำให้คาดการณ์เกรดในอนาคตที่ Harvard ได้ดีกว่าเกรดที่โรงเรียน

https://college.harvard.edu/admissions/apply/application-requirements

Test-optional ทำให้เข้ามหาวิทยาลัยใน US ได้ง่ายขึ้นหรือไม่

ไม่จริงเลย กลับทำให้เข้ายากขึ้นด้วยซ้ำ

Test-optional ได้เพิ่มจำนวนใบสมัครให้มากขึ้นจนเป็นประวัติการณ์ โดยเฉพาะในกลุ่มนักเรียนต่างชาติ 

และยังทำให้อัตราการรับนักเรียน ลดลง อย่างไม่เคยเห็นมาก่อน สรุปได้ว่า นักเรียนที่กำลังเรียน high schools ในขณะนี้ กำลังเจอกับการแข่งขันสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่ดุเดือดที่สุดเท่าที่เคยมีมา

 จากบทความ วันที่ 8 เมษายน 2022 ของหนังสือพิมพ์ Washington Post:

สถาบันการศึกษาชั้นนำในอเมริกาได้รายงานว่า จำนวนใบสมัครที่เพิ่มขึ้นอย่างมากใน 2 ปีนี้ มาจากกลุ่มนักเรียนต่างชาติ โดยเป็นผลมาจากนโยบายยื่นสมัครโดยไม่ต้องใช้คะแนน SAT หรือ ACT

โรงเรียนเอกชนชื่อดังบางแห่ง ได้รายงานถึงจำนวนใบสมัครที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล อาทิ Dartmouth College เพิ่มขึ้น 71 เปอร์เซ็นต์ และ Yale เพิ่มขึ้น 99 เปอร์เซ็นต์

โดย Yale ซึ่งเป็นหนึ่งในสถาบันที่เข้ายากที่สุดในโลก รายงานว่าได้รับใบสมัครจากในและนอกประเทศ รวมแล้วเป็นจำนวนมากถึง 50,000 ใบ เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ สูงขึ้น 42 เปอร์เซ็นต์จากปี 2020 

โดยอัตราการรับของ Yale จากปกติอยู่ที่ 6.5 เปอร์เซ็นต์ ลดลงเหลือเพียง 4.5 เปอร์เซ็นต์ในปีนี้

โดย Jeremiah Quinlan หัวหน้าคณะกรรมการรับสมัครจาก Yale ได้ชี้แจงในอีเมลว่า “สาเหตุหลักของการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้สมัครในสองปีที่ผ่านมา มาจากจำนวนผู้สมัครนักเรียนต่างชาติที่มากขึ้น” 

https://www.washingtonpost.com/education/2022/04/08/international-student-applications-growth-colleges/

จากบทความ วันที่ 21 เมษายน 2022 ของหนังสือพิมพ์ Wall Street Journal:

เหตุผลที่ใบสมัครเพิ่มมากขึ้นอย่างมาก ก็มาจากการที่มหาวิทยาลัยเกินกว่าครึ่งยกเลิกการสอบเข้า เมื่ออุปสรรคดังกล่าวถูกทำลาย เด็กนักเรียนก็เริ่มลองเสี่ยงโชคตามมหาวิทยาลัยที่เข้ายากๆดู

โดยจะเห็นได้ว่า โรงเรียนที่เข้ายากมากๆใน US นั้น มีตัวเลือกจากกลุ่มผู้สมัครที่กว้างกว่านั้น ส่งผลให้มาตรฐานการรับเข้าเรียนสูงขึ้นกว่าปีที่แล้วๆมา

ด้วยจำนวนใบสมัครที่มากขึ้น ทำให้กรรมการรับสมัครในโรงเรียนชั้นนำเหล่านี้ ใช้เวลาในการพิจารณาใบสมัครแต่ละใบน้อยลง ส่งผลให้ผู้สมัครต้องมีใบสมัครที่โดดเด่นมากขึ้นไปกว่าเดิม เพื่อเอาชนะคู่แข่ง ที่มีมากขึ้น โดยไม่ใช่แค่กลุ่มเพื่อนร่วม high school เดียวกันกับตัวเองด้วย

https://www.wsj.com/articles/to-get-into-the-ivy-league-extraordinary-isnt-always-enough-these-days-11650546000

ถ้าวางแผนจะยื่นสมัครแต่โรงเรียนที่เป็น  test-optional ยังจำเป็นต้องเรียน SAT หรือ ACT อยู่หรือไม่?

อย่างที่ได้อธิบายไปข้างต้น นักเรียน high schools ในปัจจุบัน กำลังเผชิญหน้ากับการแข่งขันที่ดุเดือดที่สุดในประวัติศาสตร์การสมัครมหาวิทยาลัยใน US โดยสถาบันการศึกษาชั้นนำของอเมริกา ต่างก็รายงานถึงอัตราการรับเข้าเรียนที่น้อยลง สวนทางกับจำนวนใบสมัครที่เพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ อันเนื่องมาจากการยื่นแบบ test-optional ของผู้สมัครต่างชาติ

เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญในตอนนี้คือ การสร้างความโดดเด่นด้านวิชาการให้ตัวเอง ด้วยคะแนน SAT และ ACT ที่สูง มากกว่าคู่แข่งคนอื่นๆ

สถาบัน EduSmith แนะนำให้นักเรียนทุกคน ได้ลองสอบ SAT หรือ ACT เพื่อดูว่าเราสามารถที่จะดันคะแนนเหล่านี้ให้สูงขึ้นหรือไม่ เพราะคะแนน SAT และ ACT  ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยยเพิ่มจุดเด่นให้โปรไฟล์ใบสมัครของเราโดดเด่นขึ้น

นอกจากนี้คะแนนการสอบทั้ง 2 ชนิด ก็ยังคงมีความสำคัญต่อนักเรียนที่เริ่มเตรียมใบสมัครช้า เพราะการเพิ่มคะแนน SAT ช่วงซัมเมอร์ก่อน senior year นั้นง่ายกว่าการมาเร่งเพิ่มเกรดที่โรงเรียนนั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง

college admission

ไขข้อเข้าใจผิดกับการไปเรียนต่อต่างประเทศ

การไปเรียนต่อต่างประเทศถือเป็นความฝันของใครๆหลายคน แต่ก็มักจะมีความเข้าใจว่าเป็นเรื่องที่ยาก โดยเฉพาะนักเรียนที่ยังไม่เคยออกนอกประเทศมาก่อน แม้ว่าการไปเรียนต่อที่ต่างประเทศจะมีข้อดีต่างๆมากมาย หลายๆคนก็ยังคงมีความกังวลในเรื่องค่าใช้จ่าย อุปสรรคทางภาษา และความปลอดภัย ซึ่งอาจทำให้บางคนลังเลกับการไปเรียนต่อ อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะยอมแพ้ให้กับความคิดเหล่านี้ EduSmith จะมาช่วยไขความเข้าใจผิดในเรื่องการไ

อ่านเพิ่มเติม »
college admission

เจาะลึกวิธีการจัดอันดับมหาวิทยาลัย

อันดับมหาวิทยาลัย (University rankings) มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของนักเรียน ผู้สอน และหน่วยงานการศึกษาต่างๆเป็นอย่างมาก การจัดอันดับมหาวิทยาลัย มักจัดทำโดยองค์กรและสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ และยังเป็นเกณฑ์มาตรฐานในการประเมินคุณภาพและชื่อเสียงของสถาบันทั่วโลก การที่จะเข้าใจวิธีการจัดอันดับมหาวิทยาลัย เราจำเป็นต้องศึกษาปัจจัยที่นำมาใช้ในการจัดอันดับ เกณฑ์การให้คะแนน รวมถึงข้อจำกัดต่างๆที่นำมาพิจารณา โครงสร้

อ่านเพิ่มเติม »
studyinusa

Selecting Undergraduate Majors for American Universities

Ravi Aldis is our Senior Counselor at EduSmith. He graduated from Reed College and has helped students into leading US universities. In this article, he will be sharing insights on what students should consider when deciding on what path to pursue in university. Choosing a major is one of the most important decisions that college applicants must make. Not only can it determine your future career p

อ่านเพิ่มเติม »
college admission

2021 SAT Changes And What They Mean For Students

On Tuesday, College Board announced major changes to its product offerings, including an end to SAT Subject Tests and an end to the SAT’s optional essay. Below are answers to some of the most common questions we have been receiving from parents and students. Exactly what changes are being made? The immediate changes relate to SAT Subject Tests and to the SAT’s optional essay component. College Boa

อ่านเพิ่มเติม »
undergraduate

Things we learned from 2020.

Congrats everyone! You have successfully made it through 2020!  We have seen how COVID-19 has disrupted the university admissions plans for the high school class of 2021. From standardized test cancellations to unpredictable admission policies that change every month, students need to think and plan their road to college admission early and carefully. Here are key survival tips from our senio

อ่านเพิ่มเติม »
SAT

SAT: WAS YESTERDAY’S TEST THE SAME AS THE DECEMBER 2018 US TEST?

While it is difficult to be sure that the two tests were completely identical, the test given yesterday in Thailand was at least very, very similar to the one given in the US in December 2018. IS THIS KIND OF REUSE UNUSUAL? Yes and No. It is not at all unusual for students in Asia to be given reused tests. In fact, ALL tests given in Asia are repeats of tests previously administered in the US. Col

อ่านเพิ่มเติม »